23 May 2009

ไข้หวัดหมูในมนุษย์ (Human Swine Influenza)


เก็บตกจากทริปฮ่องกง ไม่น่าเชื่อว่าจะเจอเอกสารนี้ ร่วมกับอีกหลายๆ ภาษา ฯ ที่สาธารณะกลางใจฮ่องกง แสดงให้เห็นว่าทางรัฐบาลฮ่องกงเอาจริงเอาจังกับโรคร้ายนี้ คงเพราะครั้งหนึ่งฮ่องกง เผชิญกับโรคซาร์ส และไข้หวัดนก จนทั้งเมืองแทบจะร้าง คราวนี้ก็ขอให้ไม่พลาดซ้ำสอง สาม สี่ ...
ที่ฮ่องกงพบเห็นคนสวมหน้ากากได้ทั่วไป อาจะไม่มาก แต่ก็เจอเรื่อยๆ ยิ่งสนามบิน และบนเครื่องบินก็สวมกันทั่วหน้า จนวิตกไปด้วยคน ส่วนบ้านเราก็... เอ่อ... จะบอกอย่างไรดี ที่ญี่ปุ่น เพียงวันแรกที่พบผู้ป่วยไข้หวัดหมูในโกเบ หลังวันที่ 2 พฤษภาคม ที่มีการแข่งวอลเลย์บอลระดับไฮสกูล จนวันนี้พบผู้ติดเชื้อแล้วถึง 279 (ตัวเลขเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม) ทั่วภูมิภาคคันไซ โดยมีศูนย์กลางที่โกเบ รวมทั้งโอซาก้า ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดหมูรายแรกในโตเกียวเมื่อวานซีน
...ซึ่งก็คือมันระบาดไวมาก และที่ทราบจากข่าวก็คือ ระยะฟักตัวของเชื้อนี้คือประมาณหนึ่งอาทิตย์ ฉะนั้นเราจะไม่ทราบว่าติดเชื้อในระยะเวลาหนึ่งอาทิตย์ ซึ่งก็แพร่เชื้อไปไหนต่อไหน อย่างที่เกิดที่ญี่ปุ่นเวลานี้

เห็นว่าเอกสารที่เก็บมาจาก Centre for Helth Protection (http://www.chp.gov.hk/) ของทางการฮ่องกง เป็นประโยชน์ต่อชาวไทย จึงขออนุญาติลอกมาให้อ่านกัน
ไข้หวัดหมูในมนุษย์
ภูมิหลัง
มีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อไข้หวัดหมูสายพันธุ์ A/H1N1 (ไข้หวัดหมู) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศเม็กซิโก และประเทศต่างๆ จำนวนมาก ไว้รัสไข้หวัดใหญ่หมูนี้ แต่เดิมเป็นที่ทราบกันดีว่า แพร่ระบาดในหมูและมีการแพร่เชื้อไปสู่มนุษย์บ้าง แต่ในเวลานี้เกิดการแพร่ระบาดไวรัสไข้หวัดหมูไปทั่วโลก และเป็นการแพร่เชื้อจากมนุษย์ไปสู่มนุษย์ด้วยกันเอง
ลักษณะอาการ
อาการของไข้หวัดหมูในมนุษย์นั้นมักจะคล้ายกับอาการไข้หวัดใหญ่ธรรมดาในมนุษย์ที่ติดเชื้อตามฤดูกาล ซึ่งได้แก่ มีไข้ เซื่องซึม ไม่อยากอาหาร และไอ บางคนที่ติดเชื้อไข้หวัดหมูอาจมีอาการน้ำมูกไหล เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงร่วมด้วย
วิธีการติดต่อ
การติดเชื้อไข้หวัดหมูในมนุษย์สู่มนุษย์คาดว่าเกิดขึ้นในทำนองเดียวกับการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ธรรมดา ที่แพร่ระบาดในหมู่ผู้คน นั่นคือ โดยหลักๆ แล้วเกิดจากการไอหรือจาม นอกจากนี้ผู้คนอาจได้รับเชื้อจากการสัมผัสวัตถุที่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดปนเปื้อนอยู่ และจากนั้นไปสัมผัสกับจมูกปากของตน
ไม่มีรายงานว่ามีการติดเชื้อไข้หวัดหมูสู่คนผ่านการรับประทานอาหารจำพวกเนื้อหมู หรือผลิตภัณฑ์จากหมูที่มีการจัดการและการปรุงสุกอย่างเหมาะสม การปรุงเนื้อหมูให้สุกภายในอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส (160 องศาฟาเรนไฮน์) ทำให้เชื้อไว้รัวไข้หวัดหมูตาย
การควบคุม
ผู้ที่เริ่มมีอาการไข้หวัดใหญ่ ควรสวมผ้าปิดปากและพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ผู้ที่ไปยังสถานที่ที่มีการติดเชื้อ หรือได้คลุกคลีกับผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงสถานที่ที่เคยเดินทางไป และประวัติการสัมผัสเชื้อ
ยาต้านไวรัสสามารถลดความรุนแรง และระยะเวลาของการเจ็บป่วยลงได้ แต่ต้องใช้ตามใบสั่งแพทย์ 'จะต้องไม่ซื้อยามาใช้เองโดยเด็ดขาด'

การป้องกัน
เนื่องจากไวรัสไช้หวัดหมูสายพันธุ์ H1N1 แตกต่างไปจากไวรัส H1N1 ในมนุษย์อย่างมาก วัคซีนสำหรับรักษาไข้หวัดธรรมดาในมนุษย์จึงไม่ให้การป้องกันเชื้อไวรัสไข้หวัดหมูสายพันธุ์ H1N1 แต่อย่างใด
ประชาชนควรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันล่วงหน้าต่อไปนี้:
  • รักษาความสะอาดมือ และล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ การใช้น้ำยาเช็ดมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ก็ได้ผลเช่นกัน

ในยามที่มือปนเปื้อนกับสิ่งสกปรกที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ควรจะ

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสปาก จมูก หรือตา
  • ล้างมือด้วยสบู่เหลวโดยทันทีหากมือปนเปื้อนสารคิดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ เช่นหลังจากจามหรือไอ
  • ปิดจมูกหรือปากเมื่อจามหรือไอ
  • ไม่ถมน้ำลาย และใช้กระดาษทิชชู่ปิดจมูกและปากก่อนบ้วนน้ำลาย และทิ้งกระดาษทิชชู่ลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด
  • สวมผ้าปิดปากเมื่อมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ หรือเริ่มมีไข้ แล้วไปพบแพทย์โดยทันที
  • ไม่ไปทำงาน หรือโรงเรียน หากคุณมีอาการคล้ายไข้หวัด

หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่ที่มีการติดเชื้อ ยกเว้นถ้ามีความจำเป็นจริงๆ ซึ่งหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรจะ

  • ในระหว่างการเดินทาง - สวมผ้าปิดปาก และไม่สัมผัสกับผู้ป่วย
  • หลังจากกลับมาจากการเดินทาง - ใส่ในใจสุขภาพของตนเองอย่างใกล้ชิด และสวมผ้าปิดปากเป็นเวลา 7 วัน และรีบปรึกษาแพทย์ในคลีนิคหรือโรงพยาบบาลของรัฐโดยทันที หากมีอาการคล้ายไข้หวัดปรากฏ

(ข้อมูลวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552)

ติดตามสถานการณ์ข่าวคืบหน้าของไข้หวัดหมูของกระทรวงสาธารณสุข ได้ที่ http://beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=419303&Itemid=199

1 comment:

cotton said...

ขอบคุณค่ะ ถึงเรื่องนี้จะดัง แต่ฉันก็ไม่ได้ไปตามหาอ่านข้อมูลเท่าไร ได้อ่านจากบล็อกนี้ก็ช่วยให้ได้ข้อมูลมากขึ้น